Home > คู่มือธุรกิจ > ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ภาพรวมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย และความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับรัฐบาลระหว่างจีน-ไทยโดยสังเขป
2024-01-08 18:15

1. ยุทธศาสตร์ แผนงาน และนโยบายการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย

ประเทศไทยมีสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รองนายกรัฐมนตรีเป็นรองประธานคนที่หนึ่ง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นรองประธานคนที่สอง กรรมการประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ  ผู้อำนวยการสำนักงานสภาอุดมศึกษาแห่งชาติและนโยบายการศึกษา วิจัยและนวัตกรรม และผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คนที่แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่กำหนด กำกับ และติดตามนโยบายด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมระดับชาติ

ยุทธศาสตร์ แผนงาน และนโยบายการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติที่สำคัญที่ออกโดยรัฐบาลไทยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้แก่:

(1) “แผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ปี 2021-2027” ถูกเสนอครั้งแรกโดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และได้รับการยอมรับและส่งเสริมอย่างแข็งขันจากรัฐบาลในเวลาต่อมา ก่อนที่จะได้รับการบรรจุเข้าสู่วาระการพัฒนาประเทศของไทยอย่างเป็นทางการในปี 2021 รูปแบบการพัฒนา BCG มุ่งหวังที่จะใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบของประเทศไทยในด้านความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม โดยมีนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเป็นแรงผลักดันหลัก ผสานกับนโยบายด้านนวัตกรรมและมาตรการสนับสนุนเพื่อยกระดับการพัฒนาชาติในด้านอาหาร เกษตรกรรม การแพทย์ พลังงานชีวภาพ วัสดุชีวภาพ และชีวเคมี การท่องเที่ยว และเศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นสี่เสาหลักแห่งการพัฒนา จะช่วยเพิ่มความเข้มแข็งและความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุตสาหกรรมต้นน้ำและปลายน้ำ เปลี่ยนประเทศไทยจากฐานการผลิตเชิงเดียวสู่การเป็นระบบเศรษฐกิจบนฐานความรู้ มีการเพิ่มมูลค่าสูง และขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม อีกทั้งยกระดับสถานะและความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานระดับโลก

(2) “นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ปี 2020-2027)” มีเป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์ 4 ประการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาระดับอุดมศึกษาและการวิจัยของประเทศ ได้แก่ 1. การพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ ได้แก่ การพัฒนากำลังคนใหม่มีคุณภาพ การพัฒนาทักษะทางวิชาชีพ การเรียนรู้ตลอดชีวิต ปัญญาประดิษฐ์ การวิจัยขั้นแนวหน้าและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการวิจัยที่สำคัญ ฯลฯ 2. การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม ได้แก่ โจทย์ท้าทายด้านทรัพยากร สิ่งแวดล้อมและการเกษตร สังคมผู้สูงอายุ สังคมคุณภาพและความมั่นคง ฯลฯ 3. การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ได้แก่ การวางรากฐานทางเศรษฐกิจ การพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมและพื้นที่เศรษฐกิจนวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพและบริการ ฯลฯ 4. การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ ได้แก่ เศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม การขจัดความยากจน เมืองน่าอยู่ และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ เป็นต้น

(3) “แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ ปี 2023 – 2027” และ “แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ปี 2023 – 2027” ได้รับการทบทวนและอนุมัติเมื่อวันที่ 15 กันยายนท ปี 2021 โดย “แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ ปี 2023 – 2027” มุ่งเน้นไปที่ 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งเสริมระบบนิเวศการวิจัย และจัดระบบอุดมศึกษาใหม่ ส่วน “แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ปี 2023 – 2027” มุ่งเน้นไปที่ 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1. ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน 2. ยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อมให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3. การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมระดับแนวหน้าที่ก้าวหน้าล้ำยุค 4. การพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น

2. หน่วยงานภาครัฐหลักที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

(1) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เกิดขึ้นจากการควบรวมกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะกรรมการการอุดมศึกษา สภาวิจัยแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และอื่น ๆ เข้าด้วยกันเมื่อปี 2019  โดยมีหน้าที่หลักคือส่งเสริมและดำเนินนโยบายและแผนเชิงกลยุทธ์ด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีพันธกิจสี่ประการ ได้แก่ การสร้างนวัตกรรมด้านการวิจัย การสนับสนุนการวิจัยและการวิจัยนโยบาย การวิจัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และกิจการอุดมศึกษา ประกอบด้วยส่วนราชการดังนี้: สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (OAP) และกรมวิทยาศาสตร์บริการ (DSS) และหน่วยงานอื่น ๆ และยังกำกับดูแลสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วว.) สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (สซ.) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (NIM) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (HII) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (NSM) และอื่นๆ รวมทั้งมหาวิทยาลัยรัฐ 84 แห่งและมหาวิทยาลัยเอกชน 72 แห่ง

(2) กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (TICA) อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ และมีหน้าที่รับผิดชอบในกิจกรรมด้านความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา รวมถึงความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มีพันธมิตรได้แก่ สหรัฐอเมริกา แคนาดา เยอรมนี ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย ฮังการี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ สวีเดน สำนักเลขาธิการแผนโคลัมโบ สหภาพยุโรป โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ยูนิเซฟ ฯลฯ ดำเนินการความร่วมมือในรูปแบบต่างๆ ผ่านการระดมทุนและทรัพยากรจากพันธมิตร เช่น โครงการวิจัยร่วม การเยี่ยมชมระยะสั้น การฝึกอบรม ทุนการศึกษา ฯลฯ ไม่เพียงแต่บริจาคเงินและให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคกับประเทศเพื่อนบ้าน (เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา และ เวียดนาม) และประเทศในภูมิภาค ยังมีความร่วมมือกับประเทศในเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง เครือรัฐเอกราช (CIS) แอฟริกา ละตินอเมริกา และประเทศในแคริบเบียน รวมถึงโครงการความร่วมมือใต้-ใต้ (TICP) หลักสูตรฝึกอบรมนานาชาติประจำปี (AITC) หลักสูตรทุนศึกษาระดับปริญญาโทนานาชาติ (TIPP) เป็นต้น

3. เงินทุนสนับสนุนการวิจัย จำนวนนักวิจัย ผลงานวิจัยและความสามารถด้านนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

จากข้อมูลที่ออกโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของไทยยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2011  โดยสูงถึง 208,010 ล้านบาทในปี 2020 คิดเป็น 1.33% ของ GDP ในจำนวนนี้มี 66,304 ล้านบาท (ประมาณ 32%) มาจากภาครัฐและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร อีก 141,706 ล้านบาท (ประมาณ 68%) มาจากภาคเอกชน เนื่องจากผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้การลงทุนด้าน R&D ในปี 2021 ลดลงจากปี 2020 ถึง 5.98% เหลือ 195,570 ล้านบาท คิดเป็น 1.21% ของ GDP ในจำนวนนี้ มี 50,683 ล้านบาท (ประมาณ 27.4%) มาจากภาครัฐและองค์กรไม่แสวงหากำไร และอีก 144,887 ล้านบาท (ประมาณ 72.6%) มาจากภาคเอกชน ในปี 2020 ทั่วประเทศมีนักวิจัย 249,270 คน โดยทุกๆ 10,000 คนจะมีนักวิจัย 25 คน ในปี 2022 มีจำนวนการยื่นขอรับสิทธิบัตรทั่วประเทศอยู่ที่ 1,416 ฉบับ โดยเป็นของคนในประเทศ 772 ฉบับ และของชาวต่างชาติ 644 ฉบับ

จากรายงานดัชนีนวัตกรรมโลก (GII) ประจำปี 2023 ที่เผยแพร่โดยองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) พบว่า ความสามารถด้านนวัตกรรมของประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 43 จาก 132 กลุ่มเศรษฐกิจทั่วโลก เช่นเดียวกับปี 2022 และเป็นอันดับที่ 3 ในกลุ่มประเทศอาเซียน รองจากสิงคโปร์ (อันดับที่ 5) และมาเลเซีย (อันดับที่ 36) การลงทุนด้านนวัตกรรมอยู่ในอันดับที่ 44 ของโลก เพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 48 เมื่อปี 2022 และผลผลิตนวัตกรรมอยู่ในอันดับที่ 43 ของโลก เพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 44 เมื่อปี 2022

4. ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างรัฐบาลจีน-ไทย

ในปี 1978 จีนและไทยได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือระหว่างรัฐบาลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและจัดตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนและกระทรวงการต่างประเทศไทย (กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ : TICA) เป็นหน่วยงานดำเนินการตามข้อตกลง ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายประสบความสำเร็จในการจัดการประชุมคณะกรรมการร่วมถึง 22 ครั้ง

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนและไทยลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปี 2013 และเปิดตัวความร่วมมืออย่างเป็นทางการในสี่โครงการหลัก ได้แก่ 1) การจัดตั้งศูนย์ร่วมวิจัยรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน 2) การร่วมพัฒนาแพลตฟอร์มแบ่งปันข้อมูลดาวเทียมการสำรวจระยะไกลและแพลตฟอร์มบริการ 3) ความร่วมมือในการถ่ายทอดเทคโนโลยี 4) โครงการนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ในเดือนพฤศจิกายน 2019 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศไทยได้ลงนามใน “บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ วิชาการ และนวัตกรรม” ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2023 นายหยิน เหอจวิ้น รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีน กับ น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ร่วมลงนามใน “บันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการแลกเปลี่ยนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภาคประชาชน” ระหว่างการประชุมย่อยการแลกเปลี่ยนวิทายาศาสตร์เทคโนโลยีของการประชุมหนึ่งแถบหนึ่งเส้น ครั้งที่ 1 ปัจจุบันทั้งสองฝ่ายได้จัดการประชุมคณะกรรมการร่วมกันทั้งสิ้น 4 ครั้

Suggest To A Friend:   
Print